เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกัน
……เซลล์ที่ทำหน้าที่ในระบบภูมิคุ้มกัน สร้างมาจาก stem cells ที่อยู่ในไขกระดูก แบ่งเป็น
1) เซลล์ที่ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอม เช่น macrophage, monocyte, neutrophil
2) เซลล์ที่มี granule จำนวนมาก ได้แก่ eosinophil, basophil และ
3) เซลล์เม็ดเลือดขาวขนาดเล็กที่เรียกว่า เซลล์ลิมโฟไซท์ (lymphocyte) ซึ่งแบ่ง
เป็น 2 ชนิด คือ B cells และ T cells
B cells ทำหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันชนิดสารน้ำที่เรียกว่า แอนติบอดี โดยที่ B cell จะถูกกระตุ้นด้วยแอนติเจน แล้วจึงเปลี่ยนเป็น plasma cells เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนนั้น
T cells ทำหน้าที่ด้านการตอบสนองทางด้านเซลล์ เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือจุลชีพแบ่งเป็น
1) เซลล์ CD4 หรือ helper T (Th) cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD4 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ส่งเสริมเรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวอื่น เช่น B cell ในการสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T cells เพื่อการเปลี่ยนเป็น cytotoxic T cells (CTL) ดังนั้น CD4+ T cells จึงมีความสำคัญมาก เพราะมีส่วนร่วมในการทำให้มีภูมิคุ้มกันทั้งแบบเซลล์และสารน้ำ
2) เซลล์ CD8 หรือ killer cells หรือ suppressor cells เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีแอนติเจนชนิด CD8 บนผนังเซลล์ ทำหน้าที่ทำลายเซลล์ที่ผิดปกติหรือที่ติดเชื้อจุลชีพ เซลล์เม็ดเลือดขาวพวกนี้จะรู้ได้ว่าเซลล์ชนิดใดเป็นสิ่งแปลกปลอม จากที่เซลล์ชนิดนั้นไม่มีโมเลกุลที่ผิวเซลล์ HLA class I ชนิดเดียวกับเซลล์เม็ดเลือดขาวนั้น ส่วนสิ่งแปลกปลอมที่กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน เรียกว่า แอนติเจน (antigen) และตำแหน่งบนแอนติเจนที่จำเพาะในการกระตุ้นเรียกว่า epitope แบ่งเป็น B-cell epitope กระตุ้น B-cell เพื่อสร้างแอนติบอดีจำเพาะ และ T-cell epitope กระตุ้น T-cell
แอนติบอดี
……แอนติบอดี หรือ อิมมูโนโกลบูลิน (immunoglobulin) เป็นโปรตีนที่มีรูปร่างคล้ายตัว Y เปรียบเหมือนรถยนต์ ที่จะเปลี่ยนสีและรูปร่าง ตามลักษณะของเชื้อโรคที่จำเพาะนั้นๆ โดยที่ส่วนยอดของตัว Y จะมีความหลากหลายมากไม่เหมือนกันในแอนติบอดีจำเพาะต่อแอนติเจนแต่ละชนิด เรียกว่า variable region เป็นตำแหน่งที่จับกับแอนติเจน ส่วนที่โคนตัว Y ของโมเลกุลแอนติบอดีจะบ่งบอกถึงชนิดของแอนติบอดีว่าเป็น class ไหน เช่น IgG, IgA,IgM, IgD, IgE เรียกว่า constant region แอนติบอดีกระจายอยู่ตามท่อน้ำเหลือง และเส้นเลือด แอนติบอดีจะจับกับสิ่งแปลกปลอม หรือจุลชีพที่เข้ามาในร่างกาย เพื่อการทำลายจุลชีพนั้นๆ แอนติบอดีชนิด secretory IgA จะอยู่ตามช่องเยื่อบุต่างๆ ในน้ำตา น้ำลาย สารหลั่งในช่องทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ท่อปัสสาวะ ช่องคลอด เป็นต้น เพื่อยับยั้งไม่ให้จุลชีพ หรือสิ่งแปลกปลอมผ่านเข้าร่างกายทางเยื่อบุ
Cytokines
……เป็นโปรตีนที่สร้างจากเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน เพื่อสื่อสารกันระหว่างเซลล์ cytokines ที่สร้างจาก T- และ B- cells ที่เรียกว่า lymphokines ได้แก่ interleukin (IL)และ interferon ส่วนที่สร้างจาก monocytes และ macrophage เรียกว่า monokines โดย cytokines ที่หลั่งออกมาอาจทำหน้าที่เรียกเซลล์เม็ดเลือดขาวให้มารวมกันที่ตำแหน่งที่มีสิ่งแปลกปลอม กระตุ้นการเพิ่มจำนวนเซลล์ ทำให้เซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันมีการเปลี่ยนแปลง และ ทำลายเซลล์
เอกสารประกอบการเรียบเรียง
1. Paul WE. FundamentalImmunology. Lippincott-Raven, 1999:1-19.
2. Abbas AK, Litchtman AH, Pober JS.Cellular and molecular immunology. W.B. Saunder Co., 1997:1-20.
3. McCune JM.The dynamic of CD4+ T cell depletion in HIV disease. Nature 2001;410:974-9
Natural killer หรือ NK cells คืออะไร?
……NK cells เป็นเซลล์ชนิดหนึ่งของเม็ดเลือดขาว Lymphocyte โดย NK Cells มีลักษณะเฉพาะตน สามารถปฏิบัติหน้าที่ โดยไม่จำเป็นต้องเรียนรู้ หรือทำความรู้จักสิ่งแปลกปลอมก่อน ไม่เหมือน T-Lymphocytes และ B-Lymphocytes ที่ต้องเรียนรู้และทำความรู้จักก่อน ถึงจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ โดยลักษณะเฉพาะดังกล่าวทำให้ NK cells มีความสามารถ ระบุเซลแปลกปลอมได้ด้วยตัวเอง สถานะสิ่งแปลกปลอมเกิดขึ้นเช่น การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะโดยมากมักถูก NK cells ปฏิเสธด้วยการระบุเป็นสิ่งแปลกปลอม ดังนั้นการเปลี่ยนอวัยวะจำเป็นต้องทดสอบ ความเข้ากันได้ รวมถึงเมื่อเซลใดเซลหนึ่ง เปลี่ยนรูปเป็นเซลเนื้อร้าย หรือเซลมีการติดเชื้อ เซลล์ดังกล่าวจะสูญเสียความเป็นร่างกาย และแสดงสถานะเป็นเซลล์แปลกปลอม
หน้าที่ของ NK Cell
……เซลล์เพชฌฆาต (Natural KillerCell)มีหน้าที่จู่โจมและฆ่าเซลล์ก้อนเนื้องอกและป้องกันร่างกายของเราต่อ เชื้อโรคต่างๆเขาได้รับฉายาว่าผู้พิฆาตโดยวิถีทางธรรมชาติ(Natural KillerCell)เพราะว่าเขาไม่ต้องมีเครื่องช่วยอื่นใด ในการสำรวจสิ่งแปลกปลอม เมื่อพบเขาจะเข้าจู่โจมและฆ่าทิ้ง เซลล์เพชฌฆาต(Natural KillerCell)จู่โจมเซลล์มะเร็ง เซลล์เพชฌฆาต(Natural KillerCell)จะตายหลังจากที่เข้าโจมตีเซลล์มะเร็งดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ในการเสริมเพิ่มจำนวนเซลล์เพชฌฆาต(Natural Killer Cell)ในร่างกายมนุษย์ เซลล์เพชฌฆาต(Natural Killer Cell)เป็นด่านแรกของรั้วป้องกันของร่างกายของเรา เมื่อร่างกายของเราถูกจู่โจมภูมิต้านทานของร่างกาย จะใช้เวลาประมาณ 7 -8 วัน เพื่อเตรียมตัวต่อสู้
……นักวิจัยทั่วโลกเริ่มค้นพบ อานุภาพของ NKCells ในการกำจัดเซลล์ติดเชื้อ และเซลล์เนื้อร้าย เคยมีการใช้สารธรรมชาติ ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ของภูมิคุ้มกันร่างกาย รวมถึงมีงานวิจัยมากมาย แสดงให้เห็นว่า NK Cells สามารถควบคุมและจำกัดการเติบโต ของเซลมะเร็งหลากหลายชนิด รวมถึงเซลล์ที่มีการติดเชื้อทั่วไป
เซลเพชฌฆาต (Natural Killer Cells)
……จากการวิจัยล่าสุดได้เปิดเผยลักษณะเฉพาะ ของเซลเพชฌฆาต (Natural Killer cells หรือ NK Cells) NK Cells มีความสำคัญยิ่งยวด ในการทำงานของทัพหน้า ในระบบภูมิคุ้มกัน ในปัจจุบันนักวิจัย และนักวิทยาศาสตร์ ยอมรับว่า NK cells เกิดขึ้นพร้อมความสามารถในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
……นิตยสารฉบับเดือนกุมภาพันธ์ของ TheJournal of Immunology มีรายงานการวิจัยถึงสองฉบับ นำโดย ดร. Christian Munz, Ph.D. และ ดร. Guido Ferlazzo, Ph.D. จากมหาวิทยาลัย Rockefeller University โดยรายงานดังกล่าว มีการค้นพบว่า NK Cells จำเป็นต้องถูกกระตุ้น และเคลื่อนตัวโดยเซลอื่นๆ เพื่อค้นหา และทำการทำลายเชื้อโรค และยังตั้งสมมุติฐานว่า การทำงานของ NK Cells สามารถ “ปรับปรุง (tailored)” หรือ “ปรับเป้าหมาย (targeted)” เพื่อให้ภูมิคุ้มกันทำงานอย่างสมบูรณ์
ท่านสามารถจะหลีกเลี่ยงความเสี่ยงหรือสิ่งคุกคามต่อไปนี้ได้หรือไม่?
ยาฆ่าแมลงที่ตกค้าง (ผักและผลไม้) อาหารสำเร็จรูป อาหารจานด่วน ไมโครเวฟ สารถนอมอาหาร สารใส่สีอาหาร ฮอร์โมนยาปฏิชีวนะที่ใช้ในฟาร์มสัตว์ สารเคมีที่มีพิษที่ใช้พ่น AEROSOL SPARY น้ำมันแต่งผม หรือผิวหนัง COSMETIC , HAIR DRESSING มลภาวะในอากาศ ไอเสียจากยานพาหนะ สูบบุหรี่ฝุ่นเชื้อโรค มลพิษทางน้ำ คลอรีนยา ยาคุม ยาแก้ปวด แอลกอฮอล์ ตัวเชื้อโรค ไวรัส แบคทีเรีย พยาธิเชื้อรารังสีเอกซเรย์ เคมีบำบัด ซึมเศร้า ความเครียด
การเจ็บป่วยที่เกิดจากภูมิคุ้มกันต่ำและความไม่สมดุลของระบบภูมิคุ้มกันเป็นภัยใกล้
ตัว เราจึงจำเป็นต้องดูแลภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพื่อเป็นเกราะป้องกันสุขภาพ
ระบบภูมิคุ้มกันแบ่งเป็น 2 ระบบ
1.Innate immunity คือระบบภูมิคุ้มกันที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ได้แก่ พื้นผิวที่สัมผัส antigen โดยตรง คือ ผิวหนังและเยื่อบุต่างๆ ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวในการป้องกันและกำจัดสิ่งแปลกปลอมซึ่งส่วนใหญ่คือ เชื้อโรคออกไปจากร่างกาย ดังนี้
- ผิวหนัง เชื้อโรคไม่สามารถบุกรุกผิวหนังปกติที่ไม่มีบาดแผล อีกทั้งความเป็นกรดของไขมันที่ผลิตออกมาจากต่อมไขมันที่ผิวหนัง ได้แก่ lactic acid และ fatty acid ช่วยยับยั้งและทำลายเชื้อโรค หากผิวหนังชั้นนอกเปิดออก เช่น มีบาดแผล หรือ ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ที่ผิวหนังก็จะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เพราะมีอาหารอันอุดมสมบูรณ์และสิ่งแวดล้อมพอเหมาะ เป็นเหตุให้เกิดการอักเสบเป็นหนอง หากเป็นแผลเล็กๆ ระบบภูมิคุ้มกันจะกำจัดเชื้อออกไป เพียงล้างแผลให้สะอาด รักษาแผลให้แห้ง ก็หายเป็นปกติได้เอง แต่ถ้าแผลขนาดใหญ่และลึก แผลถูกความร้อนเป็นบริเวณกว้าง ก็เกินกำลังที่ภูมิคุ้มกันจะจัดการไหว เชื้อโรคสามารถแทรกซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้โดยง่าย ทำให้เกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด (septicemia และเป็นสาเหตุให้ช็อกและเสียชีวิตในเวลาต่อมา จึงต้องให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ ผู้เข้าไปดูแลผู้ป่วยต้องสวมหมวกและเสื้อคลุม ผูกผ้าปิดจมูกและปาก ล้างมือให้สะอาด สวมถุงมือ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ดูแล อีกทั้งต้องให้ยาปฏิชีวนะที่ครอบคลุมเชื้อโรคให้ครบชนิด
- เยื่อบุหลอดลมมีเซลล์ที่มีขน (hairy cell คอยพัดโบกเชื้อโรคให้ออกไปจากหลอดลม อีกทั้งมีเซลล์ผลิตเสมหะ (goblet cell ที่เหนียวหนืด ไว้คอยดักจับเชื้อโรคคล้ายกาวจับแมลงวันเพื่อไม่ให้เข้าสู่เยื่อบุหลอดลม ผู้สูบบุหรี่จัด เซลล์ขนเสียหน้าที่ไป จึงป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบบ่อยๆ
- น้ำมูก น้ำลาย น้ำตา มีหน้าที่ชะล้างเชื้อโรคออกไปจากเยื่อบุ อีกทั้งในสารคัดหลั่งเหล่านี้ยังมี enzyme ที่มีคุณสมบัติในการย่อยทำลายเชื้อโรคอย่างอ่อนๆ อีกด้วย จะเห็นว่าเมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าตา หรือเยื่อบุตาอักเสบ ต่อมน้ำตาจะหลั่งน้ำตาเป็นปริมาณมากออกมาขับไล่สิ่งแปลกปลอมออกไป หรือเมื่อสิ่งแปลกปลอม สารระคายเคืองเข้าจมูกหรือเป็นหวัด เยื่อบุจมูกจะหลั่งน้ำมูกออกมาก และจามบ่อย เพื่อขจัดสิ่งแปลกปลอมเช่นเดียวกันกัน
- การไอช่วยขับไล่สิ่งแปลกปลอมที่เราสำลักเข้าไปในหลอดลมและปอด หากสิ่งแปลกปลอมทำให้เกิดการระคายเคืองมาก เราก็ยิ่งไอนาน ไอจนกว่าจะหลุดออกมา ในผู้สูงอายุระบบต่างๆทำงานเฉื่อยลงรวมถึงการไอด้วย ผู้สูงอายุจึงเป็น ปอดอักเสบจากการสำลักได้บ่อย ในผู้ที่จมน้ำก็เช่นกัน ถ้าว่ายน้ำธรรมดา สำลักน้ำเพียงเล็กน้อยมักไม่มีปัญหา สายเสียงและฝาปิดกล่องเสียงจะ ปิดทันทีเพื่อป้องกันน้ำเข้าไปในหลอดลมเพิ่ม แต่ในกรณีจมน้ำระบบนี้เสียไปเมื่อผู้จมน้ำนานจนหมดสติ น้ำจึงเข้าไปในปอดในปริมาณมาก และถ้าเป็นน้ำครำที่เต็มไปด้วยเชื้อโรคนานาชนิด ทั้งทรงกลม (cocci ทรงแท่ง (basilli เชื้อที่ต้องอาศัยออกซิเจน (aerobic bacteria และไม่อาศัยออกซิเจน (anaerobic bacter เชื้อรา โปรโตซัว เกินขีดความสามารถของระบบภูมิคุ้มกันจัดการไหว ต้องกระหน่ำยาต้านจุลชีพหลายขนานอีกแรง จึงปลอดภัยจากปอดอักเสบรุนแรงจากแบคทีเรียในขั้นต้น และไม่ติดเชื้อเข้าสู่กระแสเลือดจนช็อก
- ความเป็นกรดของสารคัดหลั่งในช่องคลอดช่วยป้องกันการเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรค
- ความแรงของกรดในกระเพาะอาหารที่ฆ่าเชื้อโรคแทบไม่เหลือ ยกเว้นเชื้อทนกรดเพียงไม่กี่ชนิดเท่านั้น
นอกจากนี้ความสมดุลของเชื้อโรคนานาชนิดที่อาศัยอยู่ตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยังช่วยป้องกันเชื้อชนิดใดชนิดหนึ่งเจริญเติบโตเพิ่มจำนวนมากจนเป็นก่อโรค
2.Acquired immunity คือภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นภายหลัง หากเชื้อโรคสามารถฝ่าด่านแรกเข้าสู่ใต้เยื่อบุหรือผิวหนังที่มีบาดแผลได้ แล้ว เซลล์ต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันจะพยายามกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้ให้ออกไปพ้น จากร่างกาย เซลล์เหล่านี้เจริญเติบโตมาจาก stem cell อันเป็นเซลล์ต้นตอในไขกระดูก (พบที่รกด้วย) ซึ่งเติบโตแปรสภาพ (differentiate ไปเป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด ต่างๆ เมื่อเซลล์เหล่านี้โตเต็มที่แล้วจึงออกมาสู่กระแสเลือด ล่องลอยไปอยู่ตามอวัยวะต่างๆ ทั่วร่างกายตามหน้าที่เฉพาะตัวแตกต่างกันไปของเซลล์แต่ละชนิด ซึ่งทำงานสอดคล้องประสานกันเป็นระบบอย่างน่าอัศจรรย์ ดังนี้
- granulocyte เป็นเม็ดเลือดขาวชนิดที่มี granule มากมายในเซลล์ ส่วนใหญ่อยู่ในกระแสเลือด มีหน้าที่กรูกันมาจัดการกับ antigen โดยกิน (engulf เชื้อแบคทีเรีย ฆ่าปรสิต เมื่อเซลล์เหล่านี้กิน antigen เข้าไปแล้ว ได้ใช้ enzyme ที่อยู่ใน granuleย่อยสลายเชื้อโรคและแปรสภาพเป็นหนอง หากอยู่ในกระแสเลือดก็กลายเป็นซากแล้วถูกกำจัดไป
- monocyte เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีจำนวนน้อยในกระแสเลือด มีหน้าที่กินเชื้อโรคในกระแสเลือดและเก็บกินซากที่เกิดจากการทำลายเชื้อโรค
- macrophage เป็น monocyte ที่อยู่ในเนื้อเยื่อ กระจายอยู่ในอวัยวะต่างๆ เมื่อกิน antigen เข้าไปแล้ว จะทำหน้าที่เป็น antigen presenting cell (APC) คือส่งสัญญาณจาก antigen ต่อมาให้เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด T lymphocyte เพื่อรับหน้าที่ต่อไป
- dendritic cell มีหน้าที่เช่นเดียวกับ macrophage
- lymphocyte เป็นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกันที่ทำหน้าที่แข็งขันที่สุด แบ่งตามหน้าที่เป็น 2 ชนิด คือ
-
1.B lymphocyte เมื่อสัมผัสกับ antigen แล้ว จะเปลี่ยนไปเป็น plasma cell มีหน้าที่ผลิตภูมิคุ้มกันด้านสารน้ำเรียกว่า humoral immunity (HI) คือภูมิต้านทาน (antibody ที่จำเพาะต่อเชื้อนั้น ประกอบด้วยโปรตีน globulin ชนิดต่างๆ เรียกว่า immunoglobulin มีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ IgG, IgA, IgM, IgD, IgE ทำหน้าที่จับติดกับ antigen แล้วทำลายด้วยวิธีต่างๆที่สลับซับซ้อน ส่วนใหญ่ภูมิต้านทานเหล่านี้จะอยู่ในร่างกายไปตลอดชีวิต เพราะมีเซลล์ที่แปรสภาพเป็นเซลล์ความจำ (memory cell ทำหน้าที่จำเชื้อที่เคยพบแล้ว เมื่อเชื้อเดิมเข้าสู่ร่างกายอีกครั้ง เซลล์ความจำก็จะระดมพลเพื่อสร้าง immunoglobulin ออกมาในปริมาณมากทันทีภายในสัปดาห์แรกที่ติดเชื้อ จึงสามารถกำจัดเชื้อโรคออกไปโดยไม่ทันก่อโรค ต่างจากการติดเชื้อในครั้งแรกที่ระดับภูมิต้านทานขึ้นในสัปดาห์ที่ 2
2.T lymphocyte เริ่มงานเมื่อได้รับสัญญาณจาก APC มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ เรียกว่า cell-mediated immunity (CMI) ที่สำคัญมี 3 ชนิด คือ
- T helper หรือ CD4 มีหน้าที่ส่งเสริมภูมิคุ้มกัน เมื่อได้รับสัญญาณจาก APC มันจะกลายเป็น sensitized T cell ที่มีอานุภาพสูง หลั่งสารมากมายหลายชนิดออกมาจากเซลล์เรียกว่า cytokines เพื่อกระตุ้นเซลล์ชนิดต่างๆในระบบภูมิคุ้มกันให้เพิ่มจำนวนมากขึ้นอย่างรวด เร็วเหมือนระดมพล และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำลายเชื้อโรคเหมือนทหารที่ฮึกเหิมพร้อมออกศึก
- T suppressor หรือ CD8 มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอม อีกทั้งยับยั้งการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันเมื่อหมดความจำเป็นแล้ว ไม่เช่นนั้นจะเกิดความเสียหายต่อร่างกายจากการทำงานที่เกินเลยของระบบภูมิ คุ้มกัน
- natural killer cell เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีหน้าที่ทำลายเซลล์มะเร็ง และเซลล์ที่ติดเชื้อไวรัสเป็นหลัก
-
จะเห็นว่าเซลล์เหล่านี้ทำงานประสานกันอย่างดีเยี่ยม เพื่อรักษาสมดุลของระบบภูมิคุ้มกันไม่มากไปหรือน้อยไปจนเกิดความเสียหายตามมา
เรารู้จักเซลล์เหล่านี้ดีเมื่อโรคเอดส์ระบาด เพราะโรคเอดส์เกิดจากเชื้อ Human Immunodeficiency Virus ( HIV ไปทำลายเซลล์ CD4 ส่งผลให้ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์บกพร่องเป็นหลัก จึงติดเชื้อฉวยโอกาสง่าย
ภูมิคุ้มกันมาจากไหน
- ภูมิคุ้มกันที่ผ่านทางรกจากแม่สู่ลูกขณะอยู่ในครรภ์ ส่วนใหญ่เป็น IgG ภูมิคุ้มกันเหล่านี้จะค่อยๆ ลดลงและหมดไปเมื่อทารกอายุ 6 เดือน ทารกแรกคลอดจึงได้ภูมิคุ้มกันนี้คอยป้องกันโรคต่างๆ ขณะร่างกายยังอ่อนแอ
- ภูมิคุ้มกันที่ได้จากน้ำนมแม่ ส่วนใหญ่เป็น IgA
- ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อตามธรรมชาติ โดยระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อเหล่านั้นและส่วนใหญ่คงอยู่ใน ร่างกายตลอดชีวิต หากเชื้อเดิมเข้าสู่ร่างกายอีก ก็จะถูกกำจัดออกไปโดยไม่ทำให้เกิดโรค เช่น หัด หัดเยอรมัน คางทูม อีสุกสุกใส ไวรัสตับอักเสบบี
- ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการได้รับวัคซีน (active immunity เป็นการเลียนแบบการติดเชื้อในธรรมชาติ โดยใช้เชื้อที่ทำให้อ่อนฤทธิ์ หรือบางส่วนของเชื้อที่มีคุณสมบัติเป็น antigen เข้าสู่ร่างกายเพื่อกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันโดยไม่เกิดโรคอย่าง การติดเชื้อโดยธรรมชาติ ได้แก่ วัคซีนชนิดต่างๆ ที่ให้ในเด็กประมาณ 20 ชนิด และวัคซีนผู้ใหญ่อีกหลายชนิด
- ภูมิคุ้มกันที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ฉีดเข้าไปในร่างกายให้ออกฤทธิ์ทันที (passive immunity เรียกว่า immunoglobulin ใช้ในกรณีที่รอให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไม่ทัน ภูมิคุ้มกันเหล่านี้อยู่ในร่างกายไม่นานก็หมดไป มีทั้งชนิดรวมคือมีฤทธิ์ต้านทาน antigen หลายชนิด คือintravenous immunoglobulin (IVIG และชนิดเฉพาะเจาะจงต่อเชื้อแต่ละอย่าง เช่น ภูมิต้านทานไวรัสตับอักเสบบี hepatitis B immunoglobulin (HBIG ใช้ฉีดให้ทารกที่คลอดจากแม่ที่เป็นพาหะไวรัสตับอักเสบบี เพื่อป้องกันทารกติดเชื้อขณะคลอด หลังจากนั้นจึงฉีดวัคซีนเพื่อให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเอง นอกจากนี้ยังมีภูมิต้านทานโรคพิษสุนัขบ้า rabies immunoglobulin (RIG โรคบาดทะยัก tetanus antitoxin (TAT ภูมิต้านทานพิษงูที่เราเรียกกันว่าเซรุ่มต้านพิษงู (antivenom
-
จะเห็นได้ว่าระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเริ่มมีบทบาทตั้งแต่แรกเกิด คือ 6 เดือนแรกเป็นภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่ และน้ำนมแม่ ต่อมาเด็กเริ่มสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นเองในร่างกายจากการติดเชื้อแต่ละครั้ง บางครั้งการติดเชื้อเกิดอาการน้อย หรือไม่เกิดอาการ แต่เมื่อตรวจเลือดก็พบภูมิคุ้มกันขึ้นแล้ว อย่างเช่น ไวรัสตับอักเสบเอ, บี
เราจึงพบเด็กเล็กโดยเฉพาะเด็กชั้นอนุบาลเป็นไข้กันบ่อย เชื้อไวรัสที่ทำให้เด็กป่วยมีกว่า 100 ชนิด ติดเชื้อแต่ละครั้งก็สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อนั้น ติดโรคกันไปติดโรคกันมา กว่าจะสั่งสมภูมิคุ้มกันครบก็เข้าสู่วัยชั้นประถมฯ สังเกตได้ว่าเด็กชั้นประถมฯไม่ค่อยป่วยแล้ว
ส่วนเชื้อโรคที่มีวัคซีนป้องกัน ก็สร้างภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน กว่าจะฉีดครบก็อายุ 6-7 ขวบ พอโตเป็นผู้ใหญ่เราก็มีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเกือบครบชนิด ไม่ค่อยป่วยด้วยโรคติดเชื้อกันอีก แต่หากมีเชื้อโรคพันธุ์ใหม่ที่ร่างกายไม่เคยสัมผัสมาก่อน จึงยังไม่มีต้านทานต่อเชื้อโรคนั้น จึงมักก่อโรครุนแรง ยิ่งเกิดในเด็กยิ่งมีอาการรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ ที่เรารู้จักกันดีคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ 2009 ไวรัสไข้หวัดนกและไวรัสซาร์ส(SARS ที่โด่งดังสร้างความหวาดกลัวไปทั่วโลก
ร่างกายเราเต็มไปด้วยจุลินทรีย์อาศัยอยู่ทั่วไป ทั้งที่ผิวหนัง ในปาก จมูก ลำไส้ใหญ่ ช่องคลอด จุลินทรีย์เหล่านี้เป็นจุลินทรีย์ประจำถิ่นเรียกว่า normal floraอยู่กันอย่างสมดุลในร่างกาย หากมีสาเหตุให้เสียสมดุลก็เกิดโรคได้ เช่น การรับประทานยาต้านจุลชีพเป็นเวลานาน จุลินทรีย์ที่ไวต่อยาถูกทำลายไปหมด เหลือจุลินทรีย์ดื้อยาที่ก่อโรคร้ายแรง การสวนล้างช่องคลอดด้วยยาฆ่าเชื้อเป็นเวลานาน ทำให้เชื้อแบคทีเรียตายไป เชื้อราเจริญเติบโตขึ้นมาแทนที่ เป็นเหตุให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อรา พบบ่อยในสาวรักสะอาดทั้งหลาย ยาต้านจุลชีพบางชนิดฆ่าเชื้อในลำไส้ใหญ่ เหลือเชื้อดื้อยาตัวร้าย เป็นเหตุให้ลำไส้ใหญ่อักเสบรุนแรง
รอบตัวเราเต็มไปด้วยจุลินทรีย์ที่ล่องลอยอยู่ในอากาศ ในน้ำ ในดิน เราจึงควรป้องกันจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่ให้เข้าสู่ร่างกายโดยง่าย ด้วยการรักษาสุขอนามัยให้ดี คือรับประทานอาหารสะอาดและทำสุกใหม่ๆ ตัดเล็บให้สั้น ล้างมือให้สะอาดเสมอโดยเฉพาะก่อนหยิบอาหารเข้าปาก ไม่ไปอยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก แสงแดดส่องไม่ถึง อันเป็นแหล่งเชื้อโรค อย่างในโรงหนังที่ปิดทึบ ห้างสรรพสินค้าที่มีผู้คนพลุกพล่าน ไม่ไอ จาม รดกัน ไม่คลุกคลีกับผู้ป่วย หากจำเป็นให้ใช้ผ้าปิดปากและจมูก ก็ช่วยป้องกันโรคติดต่อได้เป็นอย่างดี ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น โดยเฉพาะยาชุดสมุนไพรบางชนิด หรือยาลูกกลอนที่รับประทานเพื่อให้เจริญอาหาร แก้ปวดข้อ ฯลฯ เพราะยาลูกกลอน สมุนไพรที่ไม่ได้รับการรับรองมักผสม steroid อันเป็นยากดภูมิคุ้มกัน หากกินนานไป ภูมิคุ้มกันลดต่ำลง มีโอกาสติดเชื้อรุนแรงและรักษายาก อาจถึงขั้นช็อก จนไม่สามารถรักษาชีวิตไว้ได้
ดังนั้นหากเรารักษาสุขอนามัยดี ร่างกายแข็งแรง ภูมิคุ้มกันดี ไม่กินยาพร่ำเพรื่อเกินความจำเป็น แม้ติดเชื้อก็มีอาการไม่รุนแรง และหายในเวลาอันรวดเร็วด้วยภูมิคุ้มกันอันแสนวิเศษในร่างกายเราเอง จนแทบไม่ต้องพึ่งยาต้านจุลชีพใดๆ แต่หากภูมิคุ้มกันบกพร่องขึ้นมาละก็ ต่อให้มียาที่ดีเลิศเพียงใด อาจไม่สามารถรักษาชีวิตไว้ได้ ดังเช่นคนที่ภูมิคุ้มกันลดต่ำมากที่มักจบชีวิตลง
เม็ดเลือดขาว
เม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ แบ่งเป็นชนิดต่างๆดังนี้
- Polymorphonuclearหมายถึงเม็ดเลือดขาวที่มี nucleus หลายรูปแบบ เป็นเม็ดเลือดขาวที่มี granule อยู่ใน cytoplasm ของเซลล์ จึงเรียกเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ว่า granulocyte ภายใน granule เหล่านี้บรรจุ enzyme และสารหลายชนิด แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ตามลักษณะและหน้าที่
1.Neutrophilพบ 40-70% ในกระแสเลือด มี granule ขนาดเล็กย้อมติดสีชมพู ทำหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอมโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย และยังสามารถฆ่าพยาธิ รา เซลล์มะเร็งได้ด้วย เมื่อมีการติดเชื้อแบคทีเรียในร่างกาย ไขกระดูกปล่อย neutrophil ออกมาจำนวนมากเพื่อกำจัดเชื้อโรค เราจึงพบเซลล์ตัวอ่อน ซึ่งมีขนาดใหญ่ และมี granule เพิ่มขึ้นมากมาย เรียกว่า toxic granule เห็นได้ชัดจากกล้องจุลทรรศน์ เมื่อ neutrophil กินเชื้อโรคเข้าไปในเซลล์ จะปล่อย enzymeออกจาก granule มาย่อยเชื้อโรค แล้วสลายตัวกลายเป็นหนอง หากอยู่ในกระแสเลือด ซากของเซลล์ที่สลายตัวถูกกำจัดออกไปจากร่างกายโดย lymphocyte และ monocyte
2.Eosinophil พบ 2-3% ในกระแสเลือด มี granule ย้อมติดสีส้มจำนวนมากมาย ส่วนใหญ่ eosinophil อยู่ในเนื้อเยื่อบริเวณใต้ชั้นเยื่อบุ เป็นผู้ชักนำให้เกิดการสร้าง IgE ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันต่อพยาธิ เชื่อว่า eosinophilฆ่าพยาธิโดยวิธีเกาะติดตัวพยาธิที่มี IgE เกาะอยู่ แล้วปล่อยสารจาก granule เพื่อทำให้พยาธิตาย นอกจากนี้ eosinopl ยังมีจำนวนมากขึ้นในผู้ป่วยภูมิแพ้ เชื่อว่ามีหน้าที่ด้านภูมิแพ้คือหลั่งสารที่ต้านฤทธิ์สารที่ mast cellหลั่งออกมาจากภูมิแพ้ เพื่อลดการอักเสบ
3.Basophil พบ 0.5-1% ของเม็ดเลือดขาวในกระแสเลือด มี granule ย้อมติดสีต่างๆมากมาย มีจำนวนเพียงเล็กน้อย และมีหน้าที่ไม่มากนักในระบบภูมิคุ้มกัน แต่หากอยู่ในเนื้อเยื่อเรียกว่า mast cell หน้าที่หลั่งสารต่างๆออกจาก granuleในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้
- Mononuclear cell คือเซลล์ที่มี nucleus กลม แบ่งเป็น 2 ชนิด
1.Monocyte พบ 2-6% ในกระแสเลือด มีหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย หากอยู่ในเนื้อเยื่อเรียกว่า macrophage มีชื่อต่างกันตามเนื้อเยื่อที่อยู่ เช่น alveolar macrophageในปอด Kupfer’s cell ในตับ มีหน้าที่กินสิ่งแปลกปลอมหรือ antigen แล้วส่งสัญญาณของ antigen ไปกระตุ้น lymphocyte
2.Lymphocyte พบ 20-35% ในกระแสเลือด มีมากในต่อมน้ำเหลือง ทำหน้าที่สำคัญในภูมิคุ้มกันระบบเซลล์ มักมีจำนวนสูงขึ้นในการติดเชื้อไวรัส ที่เห็นชัดเจนคือไข้เลือดออก ที่เห็นเซลล์ตัวอ่อนจากไขกระดูกที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า atypical lymphocyte ออกมาในกระแสเลือดจำนวนมาก เห็นได้จากการดูเม็ดเลือดทางกล้องจุลทรรศน์
การเปลี่ยนแปลงของจำนวนและลักษณะเม็ดเลือดขาวเหล่านี้ช่วยแพทย์วินิจฉัย โรคต่างๆ เพราะเม็ดเลือดขาวทำหน้าที่แตกต่างกัน เมื่อมีการติดเชื้อเกิดขึ้น ไขกระดูกจะสร้างเม็ดเลือดขาวส่งออกมาในกระแสเลือดจำนวนมาก จึงเห็นเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดเลือดขาวตัวแก่เพิ่มขึ้น
หากติดเชื้อแบคทีเรีย เม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil เพิ่มจำนวนขึ้นและมี granule มากขึ้น เพราะเม็ดเลือดขาวชนิด neutrophil ที่มีหน้าที่กำจัดแบคทีเรีย หากติดเชื้อไวรัส ก็จะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocyte เพิ่มขึ้น และหากมีพยาธิในร่างกายโดยเฉพาะพยาธิที่อยู่ในเนื้อเยื่อ เช่น พยาธิตัวจี๊ด และพยาธิปากขอ เราก็จะเห็นเม็ดเลือดขาวชนิด eosinophil เพิ่มขึ้น แพทย์ดูเซลล์เหล่านี้โดยการนำเลือดป้ายที่แผ่นกระจก (slide) แล้วย้อมสีส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
Immunoglobulin
Immunoglobulin (Ig) คือโปรตีนชนิด globulin ที่ทำหน้าที่ด้านภูมิคุ้มกันด้านสารน้ำ มีทั้งหมด 5 กลุ่ม คือ
1.IgG เป็น immunoglobulin ที่มีขนาดเล็กที่สุด เป็นชนิดเดียวที่สามารถผ่านรกได้ และมีปริมาณมากที่สุดคือ 75-80%ของ immunoglobulin ทั้งหมดในน้ำเหลืองของคนปกติ มีบทบาทสำคัญในการป้องกันโรคติดเชื้อต่างๆ มีระดับสูงขึ้นหลังการกระตุ้นด้วย antigen โดยเฉพาะการตอบสนองต่อการติดเชื้อระยะที่ 2 (secondary response) ต่อจาก IgM ที่สร้างขึ้นในระยะแรกของการติดเชื้อ
2.IgA พบ 7-15 % ของ immunoglobulin ทั้งหมดในน้ำเหลือง ผลิตโดย plasma cell ที่อยู่ใต้ชั้นเยื่อบุผิว ส่วนใหญ่อยู่ในสารคัดหลั่งต่างๆ เช่น น้ำนมมารดา น้ำตา น้ำลาย สิ่งคัดหลั่งของปอด ทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ ระบบขับถ่าย มีบทบาทสำคัญที่สุดในการป้องกันโรคติดเชื้อของเยื่อบุต่างๆโดยเฉพาะการติด เชื้อไวรัสของระบบหายใจและระบบทางเดินอาหาร และ IgA ที่อยู่ในนมน้ำเหลือง (colostrum ของมารดา เป็นภูมิคุ้มกันที่ช่วยป้องกันทารกแรกคลอดจากการติดเชื้อ
3.IgM มีขนาดใหญ่ที่สุด พบ 5-10% ของ immunoglobulin ทั้งหมดในน้ำเหลือง เป็น antibody ตัวแรกที่ร่างกายสร้างขึ้นในการตอบสนองต่อ antigen ในระยะแรกที่ติดเชื้อ (primary antibody response หลังจากนั้น IgG จึงเพิ่มตามมา มีบทบาทสำคัญในการทำลาย antigen โดยเฉพาะเชื้อ ไวรัสและแบคทีเรีย เป็น immunoglobulin ที่พบบ่อยในภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง autoimmune disease
4.IgD มีปริมาณน้อยมาก ประมาณ 0.03%ของ immunoglobulin ทั้งหมดในน้ำเหลือง ยังไม่ทราบคุณสมบัติที่แน่ชัด
5.IgE ค้นพบหลังสุด มีปริมาณน้อยที่สุด คือพบประมาณ 0.003% ของ immunoglobulin ทั้งหมดในน้ำเหลือง สัมพันธ์กับภาวะภูมิแพ้ และเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญในโรคพยาธิ
]