Support
www.4life4good.com
ปวันรัตน์ (081-562-5177 /088-578-2624)
Your shopping cart
ดูตะกร้าสินค้าของคุณ
ไม่มีสินค้าในตะกร้าของคุณ

คำถามเกี่ยวกับทรานสเฟอร์แฟกเตอร์

วันที่: 16-02-2014

คำถามเกี่ยวกับทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ 

 

 

1. Transfer Factor คืออะไร?
…..Transfer Factor คือโมเลกุลจำนวนหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการสื่อสารและให้ข้อมูลความรู้เกี่ยว กับภูมิคุ้มกันแก่ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เช่นเดียวกันธรรมชาติก็ได้ใช้ Transfer Factor เพื่อที่จะส่งข้อมูลเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันจากระบบภูมิคุ้มกันของคนหนึ่งไปยัง อีกคนหนึ่ง นี่คือที่มาที่ไปของชื่อ Transfer Factor ซึ่งมีความหมายว่าตัวปัจจัย (Factor)  ที่ทำหน้าที่ถ่ายทอด (Transfer) ภูมิคุ้มกันจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง

 

2.  Transfer Factor  ถูกค้นพบได้อย่างไร?
…..ในปี 1949 ดร.ลอเร็นซ์ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญหาของวัณโรค เขาพยายามค้นหาว่าจะมีส่วนประกอบใดของเลือดบ้างที่จะสามารถถ่ายถอดความไวต่อ สิ่งกระตุ้นของเชื้อวัณโรคจากผู้บริจาคเลือดที่เคยเป็นวัณโรคสู้ผู้ที่กำลัง ป่วยเป็นวัณโรค  อย่างไรก็ตามการถ่ายเลือดนั้นสามารถกระทำได้เฉพาะในกลุ่มคนที่มีเลือดชนิด เดียวกันเท่านั้น ดร.ลอเร็นซ์ ได้เริ่มจากการเปิดเซลล์เม็ดเลือดขาว และคัดแยกส่วนประกอบต่าง ๆ ของเซลล์ออกตามขนาดและสัดส่วนที่แตกต่างกันไปเขาได้ค้นพบว่าเศษชิ้นเล็กชิ้น น้อยของโมเลกุลขนาดเล็กสามารถที่จะส่งผลผ่านความไวต่อสิ่งกระตุ้นของสารสกัด ที่ใช้ทดสอบวัณโรคไปยังผู้ป่วยได้ และนี่คือสิ่งที่ ดร.ลอเร็นซ์ เรียกว่า Transfer Factor

 

3.เลือดเป็นแหล่งเดียวที่สามารถพบTransfer Factor  ใช่หรือไม่ ?
…..ถ้าโดยเริ่มแรกแล้วใช่ จนกระทั่งมาถึงช่วงประมาณปี  ค.ศ.1985  ที่มีนักวิจัยสองท่านได้ค้นพบว่า  Transfer Factor ก็สามารถพบได้ในน้ำนมแรกของมารดาเช่นกัน การยืนยันสำหรับการค้นพบในครั้งนี้ส่งผลให้ได้รับเอกสารสิทธิ์ในปี 1989 และในปัจจุบันนี้น้ำนมแรกของมารดาเป็นแหล่งที่ดีที่สุดสำหรับ  Transfer Factor

 

4.  อะไรคือน้ำนมแรก?
…..น้ำนมแรกคือน้ำนมที่มารดาผลิตทันทีหลังการให้กำเนิดบุตร

 

5.อะไรเป็นแรงบันดาลใจให้นักวิทยาศาสตร์ในการเริ่มแสวงหาTransfer Factor  ในน้ำนมแรกของมารดา?
…..โดยทั่วไปแล้วผู้ที่เลี้ยงวัวจะ ทราบดีว่าถ้าลูกวัวตัวใดก็ตามไม่ได้รับน้ำนมแรกจากแม่วัว ส่วนใหญ่แล้วลูกวัวจะตายภายในระยะเวลาอันสั้นถึงแม้ว่าลูกวัวเหล่านั้นจะได้ รับอาหารเป็นจำนวนมากก็ตาม  การตายในกรณีเช่นนี้มักเกิดขึ้นจากการติดเชื้อต่าง ๆ ที่มีสิ่งมีชีวิตทั่วไปเป็นพาหนะ  ไม่ว่าจะโดยสาเหตุใดก็ตาม ระบบภูมิคุ้มกันของลูกวัวเหล่านี้จะไม่สามารถทำงานได้  และ นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นว่ามีข้อมูลบางอย่างเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่ถูก ถ่ายทอดจากมารดาไปสู่บุตรได้ขาดหายไป  คำถามที่เกิดขึ้นตามมาก็คือสิ่งที่ขาดหายไปนั้นใช่  Transfer Factor  หรือไม่?  ซึ่งคำตอบก็คือใช่อย่างแน่นอน

 

6.จะเกิดอะไรขึ้นกับผู้ที่แพ้นมและน้ำตาลแลคโตสในเมื่อ  Transfer Factor  ถูกสกัดออกจากน้ำนมแรกของมารดา?
…..การแพ้นมเกิดจากโปรตีนนมจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยฟอฟโฟโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่าเคซีน (Casein) ซึ่งเป็นโปรตีนหลักที่พบในนมและเนย และสาเหตุรองลงมาเกิดจากอิมมิวโนโกลบิวลินส์ (Immunoglobulins) ซึ่งเป็นโปรตีนจำพวกหนึ่งที่ไม่ละลายในน้ำแต่จะละลายในสารละลายเกลือ โปรตีนทั้งสองชนิดนี้ได้ถูกกำจัดออกจาก Transfer Factor โดยหมดสิ้น การแพ้น้ำตาลแลคโตสเป็นเรื่องปกติที่อาจเกิดขึ้นได้กับประชากรในแถบเอเชีย ตอนใต้ เราได้ให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหานี้ เราจึงได้ทำการกำจัดน้ำตาลแลคโตสออกจากผลิตภัณฑ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

7.TransferFactorมีความแตกต่างอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่วางขายในตลาด  ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ถูกผลิตจากน้ำนมแรกของมารดาเช่นกัน?
…..เราให้ความสำคัญมากับไข่และน้ำนม แรกของมารดาซึ่งให้ประสิทธิภาพในการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกัน  ผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีคุณสมบัติดีจริง  แต่ก็มีปัญหาบางอย่างที่ควรกล่าวถึง สิ่งแรกคือการแพ้นมและน้ำตาลแลคโตส เรื่องที่รองลงมาคือปัญหาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของอิมมิวโนโกลบิวบินและแอนติ บอดี้  ซึ่งเป็นโปรตีนในร่างกายที่เกิดจากการกระตุ้นของแอนติเจนและมีฤทธิ์ในการ ต้านพิษของแอนติเจนเฉพาะอย่าง  การใช้การรักษาด้วยแอนติบอดี้โดยการข้ามสายพันธุ์จะก่อให้เกิดประสิทธิภาพ เพียงแค่ในระยะสั้น  การใช้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานจะทำให้ประสิทธิภาพด้อยลง  เนื่องจากร่างกายของผู้รับได้พัฒนาแอนติบอดี้ที่มีอยู่ในร่างกายให้เป็น แอนติบอดี้ที่แปลกใหม่  การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้เป็นการทำลายประสิทธิภาพของตัวเอง  การรักษาโดยใช้แอนติบอดี้จะถูกกระทำผ่านทางหลอดเลือดดำ  เนื่องจากบริโภคผ่านทางปากจะทำให้กรดเอซิด  ในกระเพาะอาหารมีคุณสมบัติเสื่อมลง

 

8.TransferFactorให้ประโยชน์แก่เฉพาะทารกแรกเกิดเท่านั้นหรือ?
…..Transfer Factor ให้ประโยชน์แก่ทุกคนที่ต้องการเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้มากขั้นเป็นพิเศษ กลุ่มคนที่ควรจะได้รับการเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันโรคมากที่ สุดคือ เด็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลที่อยู่ภายใต้ความเครียดหรือความกดดันโดยทั่วไปแล้ว ทุกคนแทบจะอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งดังที่กล่าวมาแล้ว ทุกวันนี้พวกเราค่อยข้างที่จะพูดถึงกันมากเกี่ยวกับยุคแห่งการให้กำเนิด บุตร  ผู้คนส่วนใหญ่กำลังอยู่ในภาวะที่ระบบภูมิคุ้มกันมีความแข็งแรงน้อยลง Transfer Factor เป็นทางหนึ่งที่สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันโรค

 

9.  Transfer Factor  มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์หรือไม่?
…..เริ่มตั้งแต่การค้นพบโดย ดร.ลอเร็นซ์  ในปี 1949 Transfer Factor ได้ถูกทำการศึกษาและค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากกว่า 3,000 ครั้ง และได้มีการตีพิมพ์เกี่ยวกับ  Transfer Factor โดย ดร.เฮนเนน เขาได้เขียนบทสรุปบางส่วนเกี่ยวกับการทำวิจัยเรื่องนี้ลงในสมุดจดบันทึกประ มาร 48 หน้า  ซึ่งบันทึกเล่มนี้สามารถขอรับได้จาก Woodland Books ในประเทศสหรัฐอเมริกาโดยประชาชนทั่วไป

 

 

 

10.ถ้าTransfer Factor  มีประสิทธิภาพสูงดังที่กล่าวไว้จริง  ทำไมอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเภสัชภัณฑ์จึงไม่ให้ความสำคัญกับการผลิต  Transfer Factor  ?
…..ผมคิดว่านี่คือสิ่งที่เรามองเห็น ในประเทศต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศจีน เชคโกสวาเกีย  เยอรมัน  ฮังการี  โปแลนด์  และญี่ปุ่น  อย่างไรก็ตาม  Transfer Factor  มีประวัติที่น่าสนใจในประเทศสหรัฐอเมริกา  ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ  Transfer Factor  ได้ผ่านการศึกษาแบบธรรมดาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันโรคและการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ไปอย่างรวดเร็ว ในระหว่างปี 1950-59  ยาปฏิชีวนะเป็นประเภทยาที่ได้รับความนิยมอย่างสูง  ตามมาด้วยการใช้อินทรีย์สารที่ละลายในไขมันในช่วงปี 1960-69  ตัวอย่าง  เช่น  การใช้ฮอร์โมนคอร์ทิโซนเพื่อลดการอักเสบและการใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์  เช่น เอตินิล  เอสโตรเจน  และโปรเจสติน  ซึ่งถูกใช้ในการผลิตยาคุมกำเนิด  ถึงแม้ว่า  Transfer Factor  มีการเริ่มต้นที่ล่าช้า  แต่ทว่า  Transfer Factor  ได้เข้าสู่ระยะที่ประสบความสำเร็จสูงสุดในช่วงปี  1970  ไปจนกระทั่งประมาณปี  1983  อย่างไรก็ตามผลวิจัยที่ได้มีความไม่แน่นอนหรือไม่สอดคล้องกัน  เนื่องจากบางครั้งนักวิจัยด้วยความกระตือรือร้นมากกว่าที่จะใช้ความสามารถ และความเชี่ยวชาญ  ซึ่งสิ่งที่ขาดตกบกพร่องจากการสำรวจก็คือ  หลักวิชารายงานการวิเคราะห์ที่เชื่อถือได้สำหรับใช้ในการควบคุมคุณภาพของ ผลิตภัณฑ์  ปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพไม่ได้รับการลงความเห็นจนกระทั่วในราวปี 1985  เนื่องจาก  Transfer Factor  ไม่ได้มีเพียงเอกลักษณ์เดียว  บริษัทที่ทำเกี่ยวกับเภสัชกรรมจึงพยายามที่จะทำส่วนประกอบให้บริสุทธิ์โดย ที่ไม่ทำให้เกิดการสูญเสียประสิทธิภาพของ Transfer Factor  การยึดติดกับปัญหาเรื่องเงินทุนสำหรับการวิจัย  ซึ่งเป็นปัญหาเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า  เมื่อภาวะติดเชื้อเป็นที่จังตามองและถูกตีพิมพ์ลงสิ่งที่ตีพิมพ์ที่เกี่ยวกับ เภสัชภัณฑ์  ทำให้ Transfer Factor  กลับมาได้รับความสนใจอีกครั้ง  เหตุเพราะนักวิจัยเชื่อมั่นว่า Transfer Factor  เป็นหนึ่งในสิ่งบำบัดเพียงไม่กี่ประเภท  ที่มีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ที่เกิดจากการได้รับเชื้อไวรัส

 

11.มีเหตุผลอธิบายหรือไม่ว่าเหตุใดที่ผ่านมาเราจึงไม่เคยเห็น Transfer Factor  ถูกวางขายพร้อมกับอาหารเสริมชนิดอื่น?
…..มี  ซึ่งในขณะนี้การอนุญาตให้  Transfer Factor  ถูกนำเข้าสู่ตลาดภายใต้ผลบังคับมีอยู่  2  วิธี  ซึ่งวิธีแรกเกิดจากการที่ว่า DSHEA ในปี  1994 โดยมีข้อบังคับว่าเรื่องราวของ Transfer Factor จะถูกถ่ายทอดได้  แต่ต้องไม่ทำให้สถานะที่ว่า Transfer Factor  เป็นเพียงแค่ส่วนเสริมทางโภชนาการชนิดหนึ่งถูกบิดเบือนไป  วิธีที่  2  เกี่ยวกับกลวิธีหรือการเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง  เนื่องจาก  Transfer Factor  เป็นแนวความคิดที่ล้ำยุคล้ำสมัย  เราจึงต้องมีวิทยาการที่ล้ำสมัยเพื่อมารองรับเช่น ซึ่งกระบวนการและกรรมวิธีที่สามารถจะสกัด  Transfer Factor  ให้ได้จำนวนมหาศาลเพิ่มจะถูกพัฒนาให้สมบูรณ์แบบเมื่อไม่นานมานี้  และผลผลิตทางการค้าก็เริ่มที่จะหาซื้อได้ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเช่นกัน

 

12.  เราจะอธิบายหรือโต้ตอบกลับ  Transfer Factor  ได้อย่างไร?
…..การอธิบายอย่างง่ายก็คือ  Transfer Factor  สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้แก่ระบบภูมิคุ้มกันโรค  แต่นี่เป็นการอธิบายธรรมดาเกินไปรวมทั้งสามารถใช้ในการอธิบายผลิตภัณฑ์ สมุนไพรและผลิตภัณฑ์อาหารเสริมอื่น ๆ เช่นกัน  อย่างไรก็ตามผมขอตอบคำถามข้อนี้ โดยเริ่มจากการย้ำชัดว่า  Transfer Factor  ไม่ได้มีเพียงคุณสมบัติหรือเอกลักษณ์เดียว แต่แท้ที่จริงแล้ว  Transfer Factor  คือ  ส่วนผสมที่ซับซ้อน ซึ่งประกอบด้วยส่วนผสมทั้งหมด 3  ส่วน ได้แก่  ตัวชักนำ (INDUCER Fraction)  ตัวกระตุ้นการสร้างแอนติบอดี้เฉพาะอย่าง (ANTIGEN  SPECIFIC Fraction)  และตัวระงับหรือตัวยับยั้ง  (SUPPRESSOR Fraction)  เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันโรคของเราทำหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์  ผมขออธิบายการทำงานของทั้ง  3  ส่วนที่กล่าวมา  โดยใช้ภาวะทางการทหารมาเปรียบเทียบ  เริ่มจากตัวชักนำซึ่งทำหน้าที่คล้ายกับจ่าฝึกในการสร้างระบบภูมิคุ้มกันโรค ให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยที่ไม่บอกว่าจะให้ออกไปสู้รบกับอะไร ในส่วนของตัวกระตุ้น จะทำหน้าที่เสมือนกลุ่มใบประกาศที่คอยชี้ตัวและแยกแยะสิ่งแปลกปลอมที่เป็น อันตรายถ้าเราเป็นเชื้อจุลินทรีย์  ผู้ชี้ตัวเหล่านี้ก็เปรียบเสมือนกับลายนิ้วมือ เป็นต้น Transfer Factor  แต่ละชุดถูกสร้างขึ้นมาเพื่อที่จะต่อสู้กับเชื้อจุลินทรีย์หนึ่งชนิด  ดังนั้นในที่สุดแล้ว ตัวระงับหรือตัวยับยั้งก็เปรียบเสมือนนักการเมืองที่ออกมาประกาศยกเลิก สงครามและยกเลิกการเคลื่อนกำลังพล ถ้าปราศจากการกระทำเช่นนี้ ความเสียหายที่มากเกินความจำเป็นจะเกิดขึ้นในระหว่างการต่อสู้และแม้กระทั่ง ภายในร่างกายของเราเองเนื่องจากถ้าระบบภูมิคุ้มกันโรคของเราไม่ยอมถอนกำลัง ออกหรือแสดงปฏิกิริยาโต้ตอบมากเกินไป เราจะประสบปัญหากับการเกิดโรคต่าง ๆ ที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น  การแข็งตัวของเนื้อเยื่อตามจุดต่าง ๆ และอาการแพ้ชนิดต่าง ๆ Transfer Factor   มีความแตกต่างจากอาหารเสริมทั่วไป เนื่องจาก Transfer Factor   มีความเฉลียวฉลาดและความสามารถในการเข้าระบบภูมิคุ้มกันโรคสิ่งที่รักษาไว้ ซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพ คือ ข้อมูลความรู้และการศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันที่ให้ความสำคัญแก่ระบบภูมิ คุ้มกัน  สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดคือแนวความคิดใหม่ซึ่งเกี่ยวการเสริมสร้างความแข็งแรง ให้กับระบบภูมิคุ้มกัน

 

13.ได้มีการยืนยันและรับรองTransfer Factor โดยองค์การอาหารและยาหรือไม่?
…..มี  ดังที่ถูกกล่าวไว้โดย ดร.ฟูเดนเบิร์ก พร๊อก ใน  Drug  Res. 1994 ,42 , p.378  โดยทั่วไปแล้ว  บรรดาอาหารบำรุงร่างกายและอาหารเสริมจะไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหาร และยา  และอาหารที่เป็นผลผลิต จากผลิตภัณฑ์นมมักจะอยู่ภายใต้สัญลักษณ์ของ  GRAS ( Generally Recognized As Safe)  ซึ่งหมายถึงผลิตภัณฑ์ที่ทราบโดยทั่วกันว่ามีความปลอดภัย

 

14.  Transfer Factor   มีความปลอดภัยหรือไม่?
…..ปลอดภัย  เนื่องจากนักวิจัยได้ทดลองโดยการแจกจ่าย Transfer Factor   จำนวนมากให้แก่บรรดาอาสาสมัครแต่ละคนเพื่อพยายามที่จะกระตุ้นปฏิกิริยาและ การตอบสนองที่อาจเป็นผลร้ายต่อร่างกาย  แต่การทดลองดังกล่าวไม่ได้บ่งชี้ให้เห็นถึงผลกระทบใด ๆ ในด้านลบ  ถึงแม้ว่ากลุ่มอาสาสมัครได้บริโภค Transfer Factor   เป็นจำนวนมากก็ตาม

 

 

15.  Transfer Factor   ปลอดภัยสำหรับทารกหรือไม่?
…..ปลอดภัย เนื่องจาก Transfer Factor ที่ได้จากน้ำนมแรกของมารดาถูกออกแบบและกำหนดโดยธรรมชาติสำหรับทารกแรกเกิด การกำจัดการที่ทำให้เกิดการแพ้นมและน้ำตาลแลคโตสออก ทำให้เหลือเพียงแค่ส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับการให้ข้อมูลเกี่ยวกับภูมิคุ้ม กันวิทยาในยารูปแบบของ Transfer Factor

Thailand Web Stat
 

 

 

 

สนใจเข้าร่วมธุรกิจ ติดต่อ ปวันรัตน์ (อู๊ด) 081-562-5177 Line ID : 4life4good