วันที่: 16-02-2014
การรับรองทางการแพทย์ PDR 4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์แฟกเตอร์ไตรแฟกเตอร์ฟอร์มูล่า
ลักษณะของผลิตภัณฑ์
……….4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตรแฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รวมเอา ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ที่ได้รับการจดสิทธิบัตรและโมเลกุลของนาโนแฟกเตอร์ ซึ่งถูกสกัดมาจากหัวน้ำนมของวัว(colostrum) รวมถึงไข่แดงของไก่ ซึ่งสารดังกล่าวช่วยในเรื่องข้อมูลของสิ่งแปลกปลอม(antigen)แล้วยังช่วยในเรื่องการส่งเสริมและรักษาสมดุลย์ของระบบภูมิคุ้มกัน
ลักษณะทางวิชาการ
……….ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์(Transfer Factor) เป็นสารโมเลกุลที่ทำหน้าที่ติดต่อและสื่อสารเกี่ยวกับสิ่งแปลกปลอมระหว่างเซลล์ ซึ่งถ่ายทดทอดจากผู้ให้(donor)ไปสู่ผู้รับ(recipient) ได้ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์นี้จะสนับสนุนกิจกรรมทางภูมิคุ้มกันผ่านทางระบบภูมิคุ้มกันแบบ cell-mediated immunity(CMI) ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ทำหน้าที่นำข้อมูลเฉพาะที่มีต่อสิ่งแปลกปลอมจากการตอบสนองของเซลล์ภูมิคุ้มกัน ถูกสร้างมาจากเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Mononuclear ซึ่งมีความสามารถในการจดจำสิ่งแปลกปลอมและกระตุ้นเซลล์ที่ทำหน้าที่ในด้านภูมิคุ้มกันในร่างกายให้ตอบสนองอย่างมีแบบแผน
……….ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม รวมถึงของมนุษย์ เป็นสารโมเลกุลที่มีน้ำหนักโมเลกุลระหว่าง 3,500-10,000 ดาลตัน(Daltons) และเป็นสายโพลีเปบไทด์ที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนประมาณ 40-44 ตัวต่อกัน ที่มีทั้งส่วนที่คล้ายคลึงและแตกต่างกันเป็นช่วงๆ(conserved region และ variableregion) จากหลักการทางชีววิทยาโมเลกุล 2 ส่วนนี้ มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับแอนติบอดี้(antibody) อย่างไรก็ตามการทำงานของทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ จะทำหน้าที่ในด้านระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านระดับเซลล์ (cell mediatedmunity,CMI)และกิจกรรมทางภูมิคุ้มกันที่ไม่จะเพาะ(non-specific immunologicalactivity) ซึ่งจะมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการทำงานของแอนติบอดี้ ขนาดของโมเลกุลที่เล็กกว่า 3,500 ดาลตัน จะช่วยปรับสมดุลการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้เช่นกัน แต่มันจะไม่ถ่ายทอดภาวะภูมิแพ้แบบช้า(delayed – typehypersensitivity)หรือปฏิกิริยาตอบสนองทาง CMI
……….4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ได้มาจากการกรองแบบละเอียด ของหัวน้ำนม(colostrum)และจากไข่แดง สำหรับโมเลกุลที่ได้มาจากการกรองอย่างละเอียดและถูกฉีดให้เป็นละอองฝอยรวมถึงทำให้แห้งของหัวน้ำนมของวัวประกอบด้วยสารสำคัญ 2 ประเภท คือ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ที่มีอยู่ในของเหลวที่ผ่านการกรองแบบละเอียด ซึ่งมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 ดาลตัน และโมเลกุลนาโนแฟรกชั่น ซึ่งมีอยู่ในของเหลวที่ผ่านการกรองแบบนาโนและมีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่าหรือเท่ากับ 3,500 ดาลตัน
……….ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ได้ถูกค้นพบครั้งแรกในปี ค.ศ.1949 โดย Dr. H.Sherwood Lawrence ผู้ที่แสดงให้เห็นว่าระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านระดับเซลล์(CMI)สามารถส่งต่อไปยังบุคคลอื่นได้ โยการใช้สารโมเลกุลขนาดเล็กที่ได้จากเซลล์เม็ดเลือดขาว ที่มีชื่อว่า ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ และ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ สามารถถ่ายทอด DTH ของรูปแบบที่เฉพาะจากบุคคลที่มีผลทดสอบทางผิวหนังเป็นบวกไปยังบุคคลที่มีผลทดสอบทางผิวหนังเป็นลบได้ และในเวลาต่อมาบุคคลนั้นจะกลับมีผลการทดสอบทางผิวหนังเป็นบวกต่อแอนติเจนนั้นๆได้ ในการศึกษาต่อๆมาในปี 1955เขาได้แสดงให้เห็นว่า DTH สามารถถูกถ่ายทอดได้อย่างต่อเนื่อง ครั้งแรกจากบุคคลที่มีผลการทดสอบทางผิวหนังที่เป็นบวกไปยังผู้ที่มีผลการทดสอบทางผิวหนังที่เป็นลบผู้ซึ่งสามารถเปลี่ยนเป็นบวกได้ จากนั้น 6 เดือนต่อมาเขาผู้นั้นสามารถถ่ายทอดไปยังบุคคลอื่นต่อไปได้อีกเช่นกันได้มรการพิสูจน์ว่า Transfer Factor lมารถถ่ายทอดปฏิกิริยาตอบสนองทาง CMIหรือDTHจากบุคคลหนึ่งไปสู่อีกบุคคลหนึ่งได้)ซึ่งในช่วงเวลานั้นแอนติบอดี้อยู่ในความสนใจของการวิจัยทางภูมิคุ้มกัน และส่วนน้อยถูกรับรู้ถึงความสำคัญของDTH รวมทั้งในส่วนของ T-cell ที่มีต่อการตอบสนองขงอภูมิคุ้มกัน ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ สนับสนุนการมีสุขภาพดีผ่านระบบภูมิคุ้มกันแบบ CMI ซึ่งทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์นี้เป็นส่วนประกอบของนมน้ำเหลือง ที่เป็นอาหารมื้อแรกสำหรับทารก สารประกอบนี้ช่วยเชื่อมต่อช่องว่างรุ่นสู่รุ่นโดยผ่านทางCMI จากมารดาสู่ทารกแรกเกิด
การทำงานทางชีววิทยาและสรีรวิทยา
……….สิ่งที่เตรียมได้ของสารทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ประกอบด้วยโมเลกุลโพลีเปบไทด์ที่มีส่วนที่ไม่แน่นอนซึ่งแตกต่างกันมากกว่า 200 แบบ ซึ่งล้านแต่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อยกว่า 10,000 ดาลตัน และเป็นไปได้ที่แต่ละส่วนของโพลีเปบไทด์ที่มีความไม่แน่นอนทำให้เกิดความหลากหลายที่มีความจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอม(antigen)ต่างๆมากมาย ปัจจัยที่มีความจำเพาะต่อแอนติเจนต่างๆเหล่านี้ถูกสร้างขึ้นจากเม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซด์(monocyte) และจะถูกเก็บไว้ภายในเซลล์หรือเยื่อบุผนังเซลล์ มีหลักฐานที่มีนัยสำคัญชี้ให้เห็นว่าการทำงานทางชีวิวิทยาเบื้องต้นของทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ คือฟื้นฟูสภาพ และกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซด์ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับแอนติเจนที่เฉพาะเจาะจงมาก่อน(uncommittedLymphocytes) ซึ่งเม็ดเลือดขาวชนิดทีขลิมโฟไซด์(T-Lymphocytes) ที่ถูกกระตุ้นเหล่านี้ก่อให้เกิดการบวนการ CMI ดังนั้นการส่งเสริมภูมิคุ้มกันไม่เพียงแต่เฉพาะพื้นที่ที่พบแอนติเจนเท่านั้น แต่ควรเป็นไปทั่วร่างกายด้วย ผลของทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่มีต่อแอนติเจน ผ่าน บีเซลล์(B-cells) ยังไม่เป็นที่เข้าใจแน่ชัด อย่างไรก็ตามการศึกษาทางคลีนิคมีรายงานการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดี้จำเพาะ เช่น LgA และ LgG ขณะที่รับประทานทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์
……….การศึกษาทางคลินิกหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า ความสามารถที่จำเพาะของ
ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ในการแสดงออกทาง DTH และส่งเสริมการทำงานในระดับเซลล์ผ่านทางCMI สามารถถูกถ่านทอดจากผู้บริจาคที่ถูกกระตุ้นแล้วไปยังผู้รับที่ยังไม่ได้รับการกระตุ้น ผลจำเพาะที่มีต่อแอนติเจนนี้ได้รับการสนับสนุนด้วยรายงานมากมาย และมีความเป็นไปได้ที่ผลที่ได้นี้ทำงานผ่านการกระตุ้นของ CD3-ตรงตำแหน่งแอนติเจนของที-เซลล์(T-cells) การกระตุ้นเม็ดเลือดขาวชนิดแมคโคฟาส(macrophage) ที่เพิ่มขึ้นและการผลิตของอินเตอร์ลูคิน(Interleukin) ซึ่งสามารถเพิ่มการทำงานของเอ็นเคเซลล์(Natural Killer cell) ด้วย
……….แม้ว่ากลไกการทำงานที่แน่ชัดยังไม่เป็นที่รับรู้ มีการวิจัยที่แสดงให้เห็นว่าทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ จะจับสิ่งแปลกปลอม(Antigen) ได้ อย่างไรก็ตามการจับกับสิ่งแปลกปลอมที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งถูกถ่ายทอดไปยังผู้รับได้ ถูกส่งผ่านโดยทีเซลล์(T-Lymphocytes) รูปแบบจำลองทางโครงสร้างได้นำเสนอว่าทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ มีทั้งส่วนที่เป็นกรดอมิโนที่มีความแน่นอนไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้(conserved aminoacid region) และส่วนที่เปลี่ยนแปลงได้(variable region) ซึ่งพิจารณาความจำเพาะต่อสิ่งแปลกปลอมสำหรับ 8 epitopes โดยประมาณ (epitope คือชิ้นส่วนของสิ่งแปลกปลอมซึ่งรับรู้ได้โดยระบบภูมิคุ้มกัน)และถูกใช้ในฐานะเป็นเป้าหมายที่ผูกติดสำหรับตัวรับของเซลล์ภูมิคุ้มกัน และพอจะสันนิษฐานได้ว่ากรดอมิโนส่วนที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ยอมให้ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ก้าวข้ามผ่านกำแพงทางด้านสายพันธุ์โดยปราศจากการสูญเสียความสามารถในการทำงาน ในความเป็นจริง การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ที่มาจากวัวมีโครงสร้างที่คล้ายกันกับของมนุษย์และมีความสามารถในการทำงานทางสรีรวิทยาที่เท่ากัน สิ่งเหล่านี้ถูกสนับสนุนเพิ่มเติมโดยหลายการศึกษาวิจัยซึ่งใช้ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ที่สกัดจากต่อมน้ำเหลืองและนมน้ำเหลืองของวัวัเพื่อเทียบเคียงภูมิคุ้มกันแบบ CMI(Cell-mediated immunity) ที่มีต่อสิ่งแปลกปลอมที่จำเพาะในสัตว์และมนุษย์ที่ได้รับทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์
……….แม้ว่าการทดลองทางคลินิกเกี่ยวกับทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ส่วนมากจะถูกให้ผ่านทางหลอดเลือดดำ การให้ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ผ่านทางการรับประทานก็ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอด DTH และ CMI ในผู้รับเช่นกัน การศึกษาถึงขนาดของการให้ซึ่งเปรียบเทียบหลายๆช่องทางของการรับทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์เข้าสู่ร่างกาย มีการศึกษาทั้งในมนุษย์และสัตว์ ผลของการทดลองเหล่านี้ปฏิเสธข้อโต้แย้งใดๆที่ว่าภาวะความเป็นกรดหรือเอนไซม์ของกระเพาะอาหารและลำไส้มีผลต่อการรับประทาน ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์
หลากหลายการศึกษาทางคลินิก
การทำงานของเซลล์เพชฌฆาตจากธรรมชาติ(Natural killercell)
……….ได้มีการแยกเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่ง(mononuclearcell)จากคนที่มีสุขภาพแข็งแรง มาเลี้ยงในจานเลี้ยงที่มีอาหารเซลล์อยู่ จากนั้นเติมสารที่มีฤทธิ์ในการปรับสมดุลภูมิคุ้มกันต่างๆรวมไปถึงสูตร ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า ทิ้งไว้นาน 48 ชั่วโมง จากนั้นใส่เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวเลี้ยงชนิด K562 และนำไปวัดดัชนีของความเป็นพิษ(Toxicity) ด้วยสารชนิด MTT พบว่า ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ทำให้ดัชนีความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งชนิดนี้มีค่าสูงถึง 80-98% เมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์ที่ถูกกระตุ้นด้วย IL-2 ซึ่งใช้ในการกระตุ้น T-cell เช่นกัน ซึ่งให้ดัชนีความเป็นพิษเพียง 88%
งานวิจัยของเซลล์ชนิด CD4 T Helper cells
……….จากงานวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับ CD4-Helper และ CD8-T Memory cell โดยกระตุ้นเซลล์ด้วยสาร Phytohemagglutinin( PHA)ซึ่งกระตุ้น T-cell แบบจำเพาะเจาะจง พบว่าเซลล์ที่ได้รับ 4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ มีการสร้างพลังงานลดต่ำลง โดยไม่มีผลทำให้เซลล์เกิดการตาย ซึ่งการลดลงของพลังงานในเซลล์ สมมุติฐาน ได้ว่าเป็นการวางเป้าหมายหรือปรับการทำงานใหม่ของเซลล์ภูมิคุ้มกัน
การศึกษานำร่องเกี่ยวกับสารคัดหลั่ง IgA ในน้ำลาย
……….จากการศึกษานำร่องในมนุษย์จำนวน 21 ที่ได้รับ 4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า ในปริมาณ 2 แคปซูลต่อวัน นานติดกัน 2 สัปดาห์ และได้รับ 4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ริโอวิด้า ไตร-แฟกเตอร์ ฟอร์มูล่า ในปริมาณ 60 มิลลิลิตรต่อวัน นาน 2 สัปดาห์ รวมเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ จากนั้นนำน้ำลายมาตรวจวัดปริมาณของ IgA ด้วยชุดตรวจสำเร็จรูป Salimetrics(salivary IgA assay Kit) ผลการศึกษาพบว่าทุกคนที่ได้รับผลิตภัณฑ์มีปริมาณ IgA เพิ่มขึ้น 73% เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการรับประทาน
การศึกษาเพื่อการมีสุขภาพดี
……….การศึกษาหนึ่งที่ได้ดำเนินการกับนักศึกษาวิทยาลัย 30 คนพบว่า ไม่ว่าจะเป็นการบริโภคทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ 15 หรือ 30 วันตามปริมาณแนะนำบนฉลากช่วยในการดูแลสุขภาพ และการรับประทานผลิตภัณฑ์เป็นเวลา 30 วันนั้นได้แสดงให้เห็นถึงการมีสุขภาพดีที่ยาวนานกว่า การรับประทานเพียง 15 วัน
การศึกษาเพื่อการมีอายุที่ยืนยาว
……….มีงานวิจัย 2 งานที่ได้ศึกษาผลของ4ไล้ฟ์ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ต่อการมี
อายุยืนยาว โดยเริ่มต้นด้วยการศึกษาในหนูทดลอง ที่ได้แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ตัว โดยกลุ่มหนึ่งได้รับการฉีด TransferFactor ในปริมาณ 4 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม โดยระหว่างการศึกษาในแต่ละกลุ่ม ส่วนสูง น้ำหนักและอุณหภูมิในลำไส้ไม่มีความแตกต่างกัน แต่พบว่ากลุ่มที่ได้รับ Transferfactor สารบ่งชี้ทางระบบภูมิคุ้มกันในเลือดดีขึ้น ความแข็งแกร่งดีขึ้น(ใช้เครื่องวัดกำลัง,ใช้ช่วงเวลาในการห้อยโหน) และ ภาวการณ์โตของต่อมน้ำลายที่ถูกกระตุ้นด้วยสาร Isoproterenol ลดลง
การศึกษาในคนสูงอายุจำนวน 11 ราย อายุระหว่าง 55-73 ปี โดยได้รับ TransferFactor ในปริมาณ 3 แคปซูลต่อวัน เป็นเวลา 5 วัน/สัปดาห์ในเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าหลายตัวแปรทางสถิติมีค่าที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ การได้ยิน การทางตัว ความจุปอด การควบคุมการหายใจ และค่าทางจิตใจบางอย่างดีขึ้น เหมือนมีอายุน้อยกว่าความเป็นจริงถึง 4 ปี
ความปลอดภัย
……….จากการศึกษาความเป็นพิษแบบเฉียบพลันในหนูทดลอง ด้วยการประเมินเป็นเวลานานถึง 14 วัน ด้วย 4ไล้ฟ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์ ครั้งเดียว ในปริมาณที่ให้สูงถึง 2,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมในหนูทดลองตัวเมียจำนวน 5 ตัว ผลการศึกษาไม่พบว่ามีหนูตายหรือมีอาการทางคลินิกใดๆที่แสดงถึงความเป็นพิษเกิดขึ้น น้ำหนักตัวไม่มีความแตกต่างกันและไม่พบว่าเนื้อเยื้อมีการตายเกิดขึ้น ดังนั้นพิษในระยะเฉียบพลันถูกพิจารณาว่าอาจเกิดขึ้นในปริมาณที่มากกว่า 2,000 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ตั้งแต่มีการค้นพบ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์( Transfer Factor) ในปี ค.ศ.1949 ยังไม่มีรายงานเกี่ยวกับอาการแพ้หรือผลข้างเคียงใดๆจากการใช้เวลานานถึง 10 ปีหรือมากกว่านั้น
ในการใช้ ทรานสเฟอร์ แฟกเตอร์( Transfer Factor) มีข้อห้ามในกลุ่มคนที่ได้รับการบำบัดรักษาแบบกดภูมิคุ้มกัน(Immunosuppressivetherapy) แม้ว่าผลกระทบจาการใช้จริงยังไม่ได้รับรายงาน
|
|
|